เมื่อเวลา 10.40 น. วันที่ 5 เม.ย. ที่กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดี ขบ. พร้อมด้วยนายบวรสินธุ์ ตันธุวนิตย์ กรรมการบริษัท เอสเอซีแอล จำกัด ร่วมลงนามในสัญญาร่วมลงทุน (PPP) โครงการศูนย์การขนส่งชายแดน จ.นครพนม วงเงิน 1,068.36 ล้านบาท จากกรอบวงเงินที่ขออนุมัติคณะรัฐมนตรี (ครม.) จำนวน 1,361 ล้านบาท ซึ่งประหยัดงบประมาณดำเนินการได้ 292.64 ล้านบาท
นายจิรุตม์เปิดเผยว่าการจัดพิธีลงนามครั้งนี้เนื่องจาก ครม.มีมติเมื่อวันที่21ก.พ.66เห็นชอบผลการคัดเลือกเอกชนและร่างสัญญาร่วมลงทุนของโครงการตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอซึ่งดำเนินการตามขั้นตอนพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562โดยบริษัทเอสเอซีแอลจำกัดเป็นนิติบุคคลใหม่ที่“บริษัทสินธนโชติจำกัด”ผู้ผ่านการประเมินสูงสุดของโครงการจัดตั้งขึ้นตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในเอกสารข้อเสนอการร่วมลงทุนเพื่อเข้าเป็นคู่สัญญาร่วมลงทุนกับขบ.และเพื่อดำเนินงานโครงการศูนย์การขนส่งชายแดนจ.นครพนมเป็นการเฉพาะ
ในการร่วมลงทุนโครงการศูนย์การขนส่งชายแดนจ.นครพนมถือเป็นโครงการร่วมลงทุน(PPP)โครงการแรกที่ขบ.เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนที่เป็นมืออาชีพมีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในอุตสาหกรรมการขนส่งและโลจิสติกส์เข้ามามีส่วนร่วมในการลงทุนและบริหารจัดการสถานีขนส่งสินค้า(Truck Terminal)ซึ่งจะช่วยลดภาระทางด้านงบประมาณในการลงทุนและบุคลากรของภาครัฐและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งสินค้าทางถนนโดยภายใต้สัญญาร่วมลงทุนฯบริษัทเอสเอซีแอลจำกัดจะเข้ามารับผิดชอบลงทุนค่าก่อสร้างในองค์ประกอบอาคารที่ก่อให้เกิดรายได้อาทิอาคารรวบรวมและกระจายสินค้าอาคารคลังสินค้าและอาคารซ่อมบำรุงรวมถึงเครื่องมืออุปกรณ์อาทิGantry CraneและรถForkiftมูลค่าการลงทุนรวม317ล้านบาทและเริ่มดำเนินการได้ในช่วงเดือน ต.ค.-ธ.ค.66 ภายหลังขบ.ปรับสภาพพื้นที่ให้พร้อมสำหรับการก่อสร้าง
นายจิรุตม์กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ภาคเอกชนยังมีหน้าที่รับผิดชอบในส่วนดำเนินงานและบำรุงรักษาโครงการ(Operationand Maintenance : O&M)ในส่วนอาคารและพื้นที่ใช้สอยในการรับผิดชอบของเอกชนและโครงสร้างพื้นฐานส่วนกลางตามรอบระยะเวลารวมทั้งเป็นผู้รับความเสี่ยงทางด้านรายได้ตามรูปแบบการร่วมลงทุนแบบPPP Net Costและจ่ายค่าสัมปทานให้แก่ภาครัฐเป็นเงินรวมกว่า298ล้านบาทตลอดระยะเวลา30ปีนับจากปีเปิดให้บริการ(ปี68-97)คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ปัจจุบันขบ.อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างในส่วนที่ภาครัฐเป็นผู้รับผิดชอบได้แก่โครงสร้างพื้นฐานส่วนกลางและอาคารที่ภาครัฐใช้ประโยชน์มีความคืบหน้า5%คาดว่าจะแล้วเสร็จช่วงปลายปี67และมีแผนเปิดให้บริการปี68
นายจิรุตม์กล่าวอีกว่า โครงการศูนย์การขนส่งชายแดนจ.นครพนมพื้นที่ 121 ไร่ สามารถรองรับปริมาณสินค้าสูงสุด164,000ทีอียู ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งและโลจิสติกส์รองรับการขนส่งสินค้าถนนระหว่างประเทศบนเส้นทางสายR12เชื่อมต่อกาขนส่งระหว่างไทย-สปป.ลาว-เวียดนาม-จีนผ่านด่านพรมแดนนครพนมและสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่3 (นครพนม-คำม่วน)ซึ่งจัดเป็นเส้นทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงที่มีความสำคัญและมีมูลค่าการค้าการลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและยังรองรับการเปลี่ยนแบบการขนส่ง(Modal Shift)ระหว่างทางถนนกับทางรางผ่านแนวการพัฒนารถไฟทางคู่สายบ้านของการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)ในอนาคตช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของจ.นครพนม และพื้นที่ใกล้เคียงผลักดันจ.นครพนมให้เป็นศูนย์กลางทางด้านโลจิสติกส์ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
ด้านนายบวรสินธุ์กล่าวว่าบริษัทฯเล็งเห็นเส้นทางการขนส่งสินค้าบนถนนสายR12ผ่านด่านพรมแดนนครพนมถือเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ที่มีศักยภาพสูง คาดการณ์เปิดให้บริการปีแรกจะมีผู้ใช้บริการประมาณ 200-300 คันต่อวัน โดยยึดจากข้อมูลการขนส่งสินค้าในปัจจุบันในพื้นที่ จ.นครพนมที่ส่งออกไป สปป.ลาว เวียดนาม และจีน หลักๆ จะเป็นขนส่งผลไม้ สินค้าอุปโภคบริโภค และปูน อนาคตคาดว่าการใช้บริการศูนย์ฯ จะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โตประมาณ 3-5%ของทุกปี เนื่องจากจะมีการขนส่งสินค้าเกี่ยวกับธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่ขนส่งที่รวดเร็วถึงมือภายใน 3 วัน
อย่างไรก็ตามบริษัทฯจะได้นำประสบการณ์ในภาคธุรกิจการขนส่งโดยเฉพาะการบริหารจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกด้านโลจิสติกส์มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐรวมทั้งได้มีการวางแผนและปรับกลยุทธ์การให้บริการต่างๆให้สอดรับสถานการณ์การขนส่งในปัจจุบันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ใช้บริการและประเทศไทยขณะเดียวกันโครงการนี้จะสามารถสร้างอาชีพให้กับคนในพื้นที่ได้ด้วยการจ้างงานหลากหลายรูปแบบซึ่งเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนได้อีกทางหนึ่ง